วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จอแสดงภาพในปัจจุบัน

    
     
          สวัสดีครับ หลายท่านคงเคยข้องใจว่า หลอดภาพใน Notebook แบบ LCD และ OLED หรือ LED แตกต่างกันอย่างไรวันนี้เราจะเสนอวิธีการทำงานของเทคโนโลยีทั้ง 2 แบบว่ามีข้อดีและข้อเสียกันอย่างไรนะครับ

LCD หรือ Liquid Crystal Display

ิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1963 ทำงานโดยอาศัยหลักการที่ วัสดุประเภท Liquid Crystal นั้นมีคุณสมบัติพิเศษ ในการจัดเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ โดยการจัดเรียงตัวนั้นสามารถเปลี่ยนได้ โดยใช้สนามไฟฟ้า LCD ทำงานโดยการ นำวัสดุ Liquid Crystal ซึ่งมีสมบัติในการบิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของแสงได้ มาบรรจุระหว่าง ผิวกระจก ที่ด้านหนึ่งเคลือบวัสดุ Liquid Crystal ในแนวหนึ่ง ขณะที่เคลือบผิวกระจกอีกข้างด้วย Liquid Crystal ให้โมเลกุล เรียงตัวไปในแนวตั้งฉาก เจ้า Liquid Crystal ที่บรรจุอยู่ระหว่างผิวกระจกทั้งสอง ก็จะพยายามจัดเรียงตัว ให้สอดคล้องกับผิวกระจกทั้งสอง ซึ่งหากนำ Polarized Filter มาวางซ้อน จะทำให้แสงที่วิ่งเข้าไปใน วัสดุ Liquid Crystal ค่อยๆ ปรับมุมโพลาไรซ์ จนออกไปด้านตรงข้ามได้ เราจึงเห็นความใสของมัน แต่เมื่อป้อนสนามไฟฟ้าเข้าไป ระหว่างผิวกระจก 2 ข้าง โมเลกุล Liquid Crystal จะจัดเรียงตัวตามสนามไฟฟ้่า ไม่จัดเรียงตัวตาม pattern ของผิวกระจก อีกต่อไป เลยทำให้แสงส่องผ่านออกมาไม่ได้
lcd-vs-led-1
เทคโนโลยี LCD ไม่ได้ผลิตแสง phorphorescence ออกมาซึ่งต่างจาก เทคโนโลยี CRT และ Plasma Display แต่อาศัยแสงที่เราเรียกว่า Backlight ซึ่งมาจากข้างหลัง เพื่อให้เราเห็นภาพ อีกทั้งแสงที่ออกมา เป็นแสง Polarized Light ที่มีระนาบเดียวกัน ทำให้สบายตามาก
แต่ LCD ก็ยังมีข้อเสียเปรียบ นั่นคือ มันค่อนข้างไวกับอุณหภูมิ (ลองทิ้งคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค ไว้ในรถยนต์แล้วเอาไปจอดตากแดดสักเต็มวัน ท่านอาจจะเปิดออกมา แล้วพบว่าจอภาพเป็นลายด่างๆ) แม้ว่า LCD จะกินไฟน้อยกว่า CRT มากแต่มันคงยังเป็นอุปกรณ์ที่กินไฟที่สุด เมื่อไปอยู่ในอุปกรณ์มือถือ หรือ อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ พ็อกเก็ตพีซี เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เป็นต้น รวมทั้งมุมมองสำหรับการเห็นภาพ ค่อนข้างแคบ และที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้มันถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีตัวต่อไป ก็คือ มันทำเป็นจออ่อนไม่ได้ (Flexible Display)

lcd-vs-led-71

จอ LCD ที่ใช้กับ Notebook ทั่วๆไปในปัจจุบัน

lcd-vs-led-3

ความบางขอจอ OLED ในปัจจุบันครับถ้าใช้ใน Notebook จะบางกว่านี้อีกครับ

ความเป็นมาของจอ OLED
         จอภาพ OLED ชิ้นแรกนั้นเป็นรายงานวิจัยของ Kodak ซึ่งประกอบด้วยด้านหน้าสุดเป็นกระจกที่เคลือบด้วย Indium – tin oxide ทำหน้าที่เป็น anode ถัดมาเป็นชั้นของสาร organic ชั้นแรกที่ทำด้วย aromatic diamine ถัดมาเป็นชั้นของ organic ชั้นที่ 2 ที่เป็น metal chelate complex ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยแสงออกมา ชั้นสุดท้ายเป็น cathode ที่ทำจาก Magnesium และ Silver สรุปแล้วจอทั้งหมดมีอยู่ 4 ชั้น มีความหนาเพียง 500 นาโนเมตรเท่านั้น เมื่อผ่านไฟฟ้าขนาด 10 โวลต์เข้าไปหน้าจอ OLED รุ่นแรกนี้จะมีความสว่างคงทนอยู่ได้แค่ 100Candela ซึ่งเป็นความสว่าง 2 เท่าของจอ LCD พร้อม back – light แต่ข้อเสียคือความสว่างคงทนอยู่ได้แค่ 100 ชั่วโมงและจะหรี่ลงเหลือเพียงครึ่งเดียวนอกจากนั้นยังมีปัญหาในเรืองการแสดง สีโดยเฉพาะสีน้ำเงิน
lcd-vs-led-6

โครงสร้างของ OLED

วิวัฒนาการของจอภาพ OLED

            เริ่มแรกพัฒนาจอภาพชนิด passive matrix ซึ่งมีความไวในการตอบสนองช้าและรองรับความละเอียดได้ไม่เกิน 1 พิกเซล จากนั้นมีการพัฒนาจอภาพเป็นแบบ active matrix ซึ่งมีทรานซิสเตอร์คอยควบคุมระดับความเข้มแสงให้คงที่จนกว่าจะ มีสัญญาณให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่ภายในจอภาพ จอภาพแบบนี้ใช้ไฟเลี้ยงน้อยกว่าและมีอัตราการตอบสนองดีกว่าชนิด passive matrix มากรวมทั้งสามารถสร้างให้มีความละเอียดสูง ๆ ได้ ในช่วงแรกปัจจัยด้านราคาทำให้จอภาพ OLED ได้รับความนิยมเฉพาะในแบบ passive matrix ที่มีขนาดไม่กี่นิ้วเท่านั้น เพราะความต้องการใช้งานยังจำกัดอยู่ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการหน้า จอแสดงผลอย่างง่าย ๆ เช่น รีโมตคอนโทรลหรือวิทยุ เนื่องจากจอภาพสีแบบ OLED ยังมีปัญหาในเรื่องของขนาดอยู่ ทำให้ในช่วงแรกแค่นำมาใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ๆ ที่ต้องการความละเอียดในการแสดงผลค่อนข้างสูงยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือที่ต้องการแสดงกราฟิกมาก ๆ (GPRS หรือ 3G) และอุปกรณ์จำพวกกล้องดิจิตอลซึ่งในปัจจุบันได้เริ่มทยอยออกมาบ้างแล้ว
            จากคุณภาพของการแสดงผลที่ได้จากจอ OLED ที่สามารถให้ความคมชัดและความสว่างมากกว่าจอ LCD ทำให้ผู้ผลิตจอภาพหลาย ๆ รายตั้งความหวังกับจอภาพชนิดนี้ไว้มาก
lcd-vs-led-5
วิวัฒนาการของ OLED ในปัจจุบันครับ

ป่าอเมซอล ประเทศบราซิล

 
        Bolivian anaconda (Eunectis beniensis) งู อนาคอนดาความยาว 4 เมตรในเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงของจังหวัดปันโดประเทศโบลิเวียในปี 2545 ซึ่งเป็นอนาคอนดาชนิดใหม่ชนิดแรกที่ค้นพบตั้งแต่ปี 2479 เป็นต้นมา และเป็น 1 ใน 4 สายพันธุ์ของอนาคอนดา
พบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในป่าอเมซอน หลายหลายชนิด
Mthai News : 26ต.ค.สำนักข่าวCNN รายางานว่ามีการค้นพบสัตว์สายพันธ์ใหม่กว่า 1,200 ชนิดในแถบป่าอเมซอน ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่เคยพบมาก่อน ในอัตราเฉลี่ย 1 ชนิดทุกๆ 3วัน
จากรายงานของ WWF หรือองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก ระบุว่าในเหล่าสัตว์กว่า 1200ชนิดที่มีการค้นพบ ตั้งแต่ปี 2542-2552 ประกอบด้วย งูอนาคอนดาความยาวเท่ากับรถลีมูซีน ปลาดุกตัวใหญ่ยักษ์ที่สามารถกินลิง แมงมุมเขี้ยวน้ำเงิน และกบมีพิษที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว
ผลการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ป่าอเมซอนมีความหลากหลายทางชีวภาพที่ทรงคุณค่าแก่มนุษยชาติ ทั้งในเรื่องการศึกษาและการอนุรักษ์ หากยังคงมีการตัดไม้ทำลายป่า ทรัพยากรเหล่านี้อาจสูญหายไป
           Ameerega pongoensis ในช่วงปี 1999-2009 มีการค้นพบกบมีพิษหลากหลายชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบ Peruvian ในป่าอะเมซอน
                  Ranitomeya benedicta กบชนิดนี้ พบมากตามแถบป่า Loreto and San Martin ประเทศเปรู
                                                             Hypsiboas liliae (male)
                                       Anolis cuscoensis สัตว์เลื้อยคลานที่พบในป่าอะเมซอน
                                                                      Pseudoboa martinsi
                          Apistogramma baenschi ปลาหลากหลายชนอดพบในแถวเปรู และโบลิเวีย
                                                                           Otocinclus cocama
               Phreatobius dracunculus ปลาดุกอีกชนิดหนึ่งที่พบในรัฐรอนโดเนียของบราซิลพบว่ามีขนาดเล็กมาก ลำตัวสีแดงและตาบอด
                                                   mazon sundew (Drosera amazonica)
                                             Cryptic forest-falcon(Micrastur mintoni)
               Bald parrot (Pyrillia aurantiocephala) นกแก้วหัวล้านสีสันสดใส พบในลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล
                   Bolivian river dolphin (India bolivienses) โลมาแม่น้ำสีชมพู ที่ถูกพบในแถบอเมซอน
                                                                   Rio Acari mamoset
                                                                       Bluefang spider
         Tarantula แมงมุมที่มีลักษณะโดดเด่น มีสีชมพูปรากฎที่ปลายเท้า พบในแถบบราซิล และเวเนซูเอลา

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แร่

     
      แร่ Mineral เป็นธาตุหรือสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางอนินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนคงที่หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด
      แร่แบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี 
  1. แร่ธาตุธรรมชาติ (Native elements) มักจะอยู่รวมตัวกันเป็นสารประกอบ แต่บางชนิดอยู่กันเดี่ยว ๆ ในรูปธาตุธรรมชาติ แบ่งได้เป็น
    1. โลหะ ได้แก่ เงิน ทองแดง ทองคำ ทองคำขาว
    2. อโลหะ ได้แก่ กำมะถัน แกรไฟต์ เพชร
  2. ซัลไฟด์ (sulphides) แร่กลุ่มนี้ เป็นสารเริ่มต้นของโลหะผสม แร่ซัลไฟด์มักเกิดเป็นสายแร่ จากหินหนืดที่เย็นลงในอุณหภูมิต่าง ๆ กัน ดังนั้น จึงหลอมง่าย และ อับแสง
  3. ซัลโฟซอล (sulphosalt) ในโครงสร้างผลึกแร่เดียวกันประกอบด้วยธาตุโลหะหรือกึ่งโลหะ และทำตัวเหมือนโลหะ ได้แก่พวก ตะกั่ว พลวง
  4. ออกไซด์ ออกไซด์เชิงช้อน และไฮดรอกไซด์ (Oxides, Multiple Oxides and Hydroxides) เป็นธาตุที่มีจำนวนมากและหายาก แต่ธาตุที่มีประโยชน์นั้นมีน้อย ประกอบอยู่ในหินแปร และ หินอัคนี เป็นธาตุที่ทนทานและแข็งแรง จึงมีค่าทางเศรษฐกิจมาก เช่น เหล็ก (ฮีมาไทต์ แมกนีไทต์ )
  5. เฮไลด์ (Halides) ประกอบอยู่ด้วยธาตุหมู่ฮาโลเจน (ธาตุหมู่ 7) ตัวอย่างเช่น Atacamite, Fluorite
  6. ซัลเฟต (sulphates) สามารถจำแนกได้เป็นสองชนิด คือ
    1. Anhydrous sulphates คือไม่มีส่วนประกอบของน้ำ ได้แก่ anhydrite และ barite
    2. Hydrous sulphates and Basic sulphates คือ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ Bloedite, Chalcanthite, Melanterite และ ยิปซัม
  7. ทังสเตต และ โมลิบเดต (Tungststes and Molybdates) เป็นสินแร่ที่มีสีสันสวยงาม คือซีไลท์ ซึ่งเมื่ออยู่ในอัลต้าไวโอเลตจะได้สีขาวนวลฟ้า และวุลฟีไนท์ มีสีส้ม
  8. ฟอสเฟต อาร์เซเนต และวาเนเดต เป็นแร่ที่หาได้ยาก ซึ่งมีฟอสเฟสเป็นส่วนประกอบ ที่น่าสนใจได้แก่กลุ่ม ฟอสเฟส อาเซเนต และ วาเนเตต
  9. ซิลิเกต (Silicates) เป็นแร่ที่เกิดจากการรวมตัวของ ซิลิกอนและ ออกซิเจน และยังมีสารอื่นประกอบ ทำให้เกิดลักษณะต่างๆกันหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด คือ
    1. นีโซซิลิเกต (Nesosilicate)
    2. โซโรซิลิเกต (Sorosilicate)
    3. ไซโคลซิลิเกต (Cyclosilicate)
    4. ไอโนซิลิเกต (Inosilicate)
    5. ฟิลโลซิลิเกต (Phyllosilicate)
    6. เทกโทซิลิเกต (Tectsilicate)

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แม่น้ำ


แม่น้ำ เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น
น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบแม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (delta) หรือชะวากทะเล(estuary)

ท้องฟ้า


ท้องฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศหรืออวกาศที่สามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวโลก นก แมลงเครื่องบิน และ ว่าว ถูกจัดว่าบินอยู่ในท้องฟ้า มีหลายเหตุผลที่ทำให้ท้องฟ้านั้นยากที่จะจำกัดความ
ในเวลากลางวันท้องฟ้าปรากฏเป็นพื้นสีฟ้าเนื่องจากอากาศทำให้เกิดการกระเจิงของแสงอาทิตย์ ไม่ใช่เพราะว่ามีวัตถุสีฟ้าเหนือพื้นโลก เพราะเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะนิยามว่าท้องฟ้าคือสิ่งใด ท้องฟ้านั้นบางครั้งถูกจำกัดความว่าเป็นเขตของชั้นบรรยากาศโลกที่มีแก๊สแน่นหนา ในเวลากลางคืน ท้องฟ้านั้นปรากฏเป็นพื้นสีดำสนิท หรือบางครั้งเรียงรายไปด้วยดวงดาว แต่ถ้าเรากล่าวว่าทั้งหมดที่เราเห็นนั้นคือท้องฟ้า ก็จะกลายเป็นว่าท้องฟ้าคือจักรวาลซึ่งผิดจากความหมายแรกเมื่อเราเห็นตอนกลางวัน
ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ได้ต่อเมื่อไม่มีเมฆบดบัง ในเวลากลางคืน (และบางครั้งในเวลากลางวัน) เราสามารถมองเห็นพระจันทร์ ดาวเคราะห์ และ ดวงดาว ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราสามารถเห็นได้ในท้องฟ้าคือเมฆ รุ้งกินน้ำ และ ออโรรา สายฟ้าและ หยาดน้ำฟ้านั้น สามารถเห็นได้ในระหว่างเวลาที่มีพายุ บ่อยครั้งเราสามารถมองเห็นหมอกควันในเวลากลางวันและรัศมีของแสงในเวลากลางคืนเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
ในสายวิชาดาราศาสตร์ ท้องฟ้าถูกเรียกว่าทรงกลมฟ้า นั่นคือทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก ทรงกลมฟ้านั้นถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเรียกว่ากลุ่มดาว
ดูท้องฟ้าของดาวเคราะห์อื่นสำหรับความหมายของท้องฟ้าในดาวเคราะห์ต่างๆและดวงจันทร์ในระบบสุริยะ

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปลา


ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus)
ปลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาวโลมา,วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและปลาวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย

กำแพงเมืองจีน


กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม長城จีนตัวย่อ长城พินอินChángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม萬里長城จีนตัวย่อ万里长城;พินอินWànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตรและนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้